วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

เลาะโขง แวะวัดมโนภิรมย์




นั่งรถตามถนนลัดเลาะเลียบริมแม่น้ำโขงพรมแดนที่แบ่งกันสัญชาติระหว่าง ลาวและไทย บนถนนเส้นนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่มากมายเกี่ยวข้องทั้งทางประวัติศาสตร์การเมือง สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ ที่ผสมผสานความงามของหลายๆประเทศเอาไว้ด้วยกัน ตอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่พันผูกกับลำน้ำที่ยาวนับพันกิโลเมตร





รถหยุดแวะให้ชม วัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด อำเภอว่านใหญ่ จ. มุกดาหาร วัดเก่าแก่ริมแม่น้ำโขง ที่มีอายุกว่า 300 ปี  สร้างขึ้นราว ปี 2230 ราวๆ สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยท้าวคำสิงห์ เป็นผู้นำในการโยกย้าย จากบ้านท่าสะโน ถิ่นฐานเดิมในฝั่งลาว หลังพื้นที่ทำเลเดิมนั้นเริ่มจะคับแคบไม่เพียงต่อลูกบ้านที่มีเพิ่มจำนวนขึ้น  แต่เดิมวัดชื่อ บ้านชะโนด เดียวกับชื่อหมู่บ้านและชื่อลำห้วยที่ไหลลงสู่ลำน้ำโขง ก่อนมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมโนภิรมย์



ศิลปกรรมสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ไทย ลาว เขมร  อ่อนช้อยดูลงตัวงดงาม  ทั้งงานไม้และงานปูนปั้นอันวิจิตร โบสถ์ที่อยู่ตรงหน้าหลังนี้คือสิ่งที่ถูกเกริ่นนำสร้างอารมณ์   เป็นอาคารปูนหลังชั้นเดียว ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ จุญาติโยมได้ไม่มากนัก  ตั้งอยู่ท่มกลางศาสนสถานที่สร้างขึ้นภายหลังที่ให้ความรู้สึกไม่เข้ากัน


หน้าจั่วแหลมชันและงอน ซุ้มประตูใหญ่หน้าบันเป็นไม้แกะสลักลวดลายูเรียบๆ แต่แฝงไว้ซึ่งเสน์ห์ของงานไม้ ซุ้มประตูเป้นงานปูนปั้นเป็นรูปสัตว์ในพุทธกาลอย่างพญานาค แปะสัลบด้วยกระจกเพียงเล็กน้อย เพื่อสร้างความแววาวยามต้องกระทบกับสงแดดยามเช้า และหัวเสาเป็นงานปูนปั้น ตรงบันไดใหญ่หน้าบันเป็นคชสีห์คู่ขนาดพอกับลูกแกะ  บันไดด้านข้าง ซ้ายขวาราวบันไดเป็นรูปปั้นรูปสัตว์สองตัว  เป็นยามคอยป้องกันสัตว์ร้ายต่างที่จะทำร้าย
โบสถ์หลังนี้ถูกไฟไฟไหม้ไปเมื่อ กว่าร้อยปีที่ผ่านมา ความงามทางศิลปะถูกเผาไปเหลือเพียงเถ้าถ่าน ซึ่งทั้งชาวบ้านและทางวัดเองได้ร่วมมือกันบูรณะขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แม้จะไม่งดงามเท่าเมื่อในครั้งอดีตเพราะงานฝีมือั้นไม่อาจทำเลียนแบบได้เสมอเหมือน


 ภายในโบส์มี  มี"พระประทาย"หรือ "พระองค์หลวง" พระประธานสร้างด้วยอิฐปูนดูเด่นสง่า จากพนังราบเรียบที่ไม่มีลวดลายลายจิตกรรมผาผนัง  สมสัดส่วน พระพักษ์ทั้งหมด บ่งบอกถึงสกุลช่างลาว ด้านซ้ายมีพระงา 8 องค์ นาบข้างซ้าย-ขวา องค์พระ มีพระเจ้าองค์ตื้อ และพระองค์แสน ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถืออย่างมาก อีกทั้งพระพุทธรูปไม้กะสลักที่ชาวบ้านนำมาถวายอีกจำนวนหนึ่ง หน้าต่างทุกช่องมี "ลูกมะหวด"  แกะจากไม้ ทำหน้าที่เป็นลูกกรงป้องกันมือดีที่จะมาฉกฉวยทรัพย์สิน


แต่เพิ่งมาทราบข่าวจากทางจอแก้วย้อนหลังไปไม่นานนี้  พระงา ซึ่งแกะสลักจากเป็นพระเจ้า 8 องค์ บนงาของพลายเคน ซึ่งเป็นเคยเป็นช้างของเจ้าเมืองเวียงจันทร์ที่พลัดตกแม่น้ำถูกช่วยขึ้นมาได้ และได้ถวายให้แก่วัดนี้ในเวลาต่อมา  นั้นถูกหัวขโมยแอบย่องมาตัดแม่กุญแจประตูหน้าโบสถ์ หายไปพร้อมกับพระองค์แสน ที่เคยต้องพรากจากวัดมาแล้ว ถึง 4 ครั้งแต่ก็ได้กลับคืนมาทุกครั้งไป ในครั้งก็ได้แต่หวังว่าจะได้คืนกลับมาในไม่ช้าสมบัติของแผ่นดินที่ถูกขโมยไปยังพอจะมีโอกาสได้กลับคืนมาถ้าทุกคนที่พบเห็นช่วยกันเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแสและไม่เห็นแก่ตัว คิดจะเก็บครอบงำไว้เอง งานทางพุทธศิลป์ที่นับวันจะหาดูได้ยากขึ้น





วัดริมน้ำโขง ของจังหวัดมุกดาหาร แห่งนี้ถึงแม้จะไม่ใหญ่ไม่โตมากนัก แต่ก็มีตัวโบสถ์ที่สวงามด้วยรูปแบบโบราณซึ่งจะสร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันคงหาได้น้อยมาก เพราะทั้งแรงงานที่มีฝีมือขนาดนี้คงหาได้ยากเต็มที ช่วยกันดูแลและถนอมรักษาไว้ให้นาน คงไม่เกินความสามารถของคนในยุคนี้กระมัง






ว่างๆก็แวะไปที่ http://www.oknation.net/blog/samjaw ด้วยเน้อคั่บ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น